โรงพยาบาลมหาชัย 3
บริการ
ข้อมูลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
เลือกภาษา

หน้าหลัก บทความสุขภาพ

อาหารหลัก 5 หมู่ คือ กลุ่มสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันในปริมาณที่พอดี ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และไขมัน

อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง? โปรตีน โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยปริมาณที่เหมาะที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนทั่วไปควรได้รับโปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และผู้ที่ออกกำลังกายควรได้รับโปรตีน 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ประโยชน์ของโปรตีน 1. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ กระดูก เม็ดเลือด ผิวหนัง ฮอร์โมน 2. สร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรง 3. ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย 4. สร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย 5. ให้พลังงานแก่ร่างกาย ในกรณีที่ร่างกายขาดพลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ 6. ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย 7. ช่วยทำให้อาหารต่างๆ ถูกย่อยและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่? การได้โปรตีนไม่เพียงพออาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ ในทางกลับกันหากได้รับโปรตีนมากเกินไปร่างกายอาจเก็บสะสมโปรตีนส่วนเกินในรูปของไขมันซึ่งเป็นเหตุของความอ้วนได้ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำต่อวันแบ่งตามช่วงอายุ - เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ควรได้รับ 13 กรัม/วัน - เด็กอายุ 4-8 ขวบ ควรได้รับ 19 กรัม/วัน - เด็กอายุ 9-13 ขวบ ควรได้รับ 34 กรัม/วัน - เด็กผู้หญิงและผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 46 กรัม/วัน - เด็กผู้ชายอายุ 14-18 ปี ควรได้รับ 52 กรัม/วัน - ผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้น ควรได้รับ 56 กรัม/วัน แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนประกอบไปด้วย เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ เต้าหู้ พืชตระกูลถั่ว โดยจำแนกอาหารกลุ่มนี้ได้ดังนี้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ไส้กรอกไม่ติดมันและลดเกลือ สัตว์ปีก ได้แก่ เนื้อไก่ ไก่งวง เป็ด ปลาและอาหารทะเล ได้แก่ ปลา กุ้ง ปู หอยแมลงภู่ หอยเชลล์ หอยนางรม หอยกาบ ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด เมล็ดถั่ว พืชตระกูลถั่ว และถั่วทุกชนิด ได้แก่ อัลมอนด์ วอลนัท แมคคาเดเมีย เฮเซลนัท มะม่วงหิมพานตื ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วชิกพี เมล็ดฟักทอง เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ข้อควรรู้เกี่ยวกับโปรตีน - โปรตีนกับคาร์โบไฮเดรตมีปริมาณแคลอรี่ต่อกรัมในปริมาณที่เท่ากัน ดังนั้นการกินโปรตีนก็ทำให้อ้วนได้เช่นกัน - ไม่สามารถทานไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตแทนโปรตีนได้ เพราะไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ - โปรตีนที่ได้จากพืชมีปริมาณต่ำกว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์และไข่ อีกทั้งยังมีความบกพร่องในกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด - ความต้องการของโปรตีนจะลดลงตามอายุ เคล็ดลับลดไขมันในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ 1. เปลี่ยนจากเนื้อสัตว์เป็นถั่ว 2. ใช้วิธีการย่าง อบ นึ่ง แทนการทอด เพราะการทอดจะทำให้มีไขมันมากขึ้น หากกำลังย่างเนื้อให้วางเนื้อไว้บนตะแกรงเหนือถาดย่าง เพื่อให้ไขมันไหลออก 3. เลือกใช้เนื้อส่วนที่ไม่ติดมัน หรือเนื้อสับที่ไม่ติดมัน โดยดูจากฉลากสินค้าหรือสอบถามจากคนขาย 4. ตัดส่วนไขมันออกก่อนหรือหลังปรุงอาหารเสร็จแล้ว 5. เพิ่มไขมันให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นได้ก่อนหรือหลังปรุงอาหาร 6. ทดแทนเนื้อสัตว์บางส่วนในเมนูอาหารด้วยผักที่ให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักที่พบได้ในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช เช่น ธัญพืชต่างๆ นอกจากนี้ยังพบคาร์โบไฮเดรตได้ในบรรดาอาหารแปรรูปในรูปของแป้งหรือน้ำตาลด้วย คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่ดีและไฟเบอร์ที่จำเป็น แคลเซี่ยม ธาตุเหล็ก และวิตามิน อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง พาสต้า เป็นต้น คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 1. ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย 2. ช่วยในการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นปกติ 3. ช่วยรักษาคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญพลังงาน 4. ช่วยในการทำงานของสมอง เนื่องจากการทำงานของสมองต้องพึ่งกลูโคสซึ่งเป็นตัวให้พลังงานที่สำคัญ 5. อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตจำพวกธัญพืชก็เป็นแหล่งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามินด้วยเช่นกัน ประเภทของคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. น้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พื้นฐานที่สุด เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด รวมถึงผลไม้ ผัก นม และผลิตภัณฑ์จากนม 2. แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ บรรดาแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น 3. ไฟเบอร์ เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช ถั่วแห้งปรุงสุก และถั่วลันเตา ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่? ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนปกติควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือผู้ที่ไม่ใช่คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอควรลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงเหลือ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำจะต้องการคาร์โบไฮเดรตเพื่อเป็นพลังงาน ดังนั้นควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 4-6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นผัก-ผลไม้สด แห้ง แช่แข็ง กระป๋อง และน้ำผลไม้ ต่างก็ให้วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และใยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่ม และช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังให้แคลอรี่ต่ำอีกดัวย การกินผักและผลไม้ที่หลากจะทำให้ได้สารอาหารสำคัญหลายชนิด ปริมาณผักและผลไม้ที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่? จากการศึกษาพบว่าการรับประทานผัก-ผลไม้อย่างน้อย 5 มื้อต่อวัน โดยทานผลไม้สองส่วนและผักสามส่วนจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสุขภาพเรื้อรังได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง แม้ว่าคำแนะนำเรื่องสัดส่วนการรับประทานผักและผลไม้จะแตกต่างกันไป แต่เป็นที่ชัดเจนว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพส่วนใหญ่บอกว่าจำเป็นต้องเพิ่มผักและผลไม้ในอาหารต่อวัน - 1,600 แคลอรี่ (เด็ก) : ผัก 4 ทัพพี / ผลไม้ 3 ส่วน - 1,600 แคลอรี่ (ผู้ใหญ่) : ผัก 6 ทัพพี / ผลไม้ 4 ส่วน - 2,000 แคลอรี่ : ผัก 5 ทัพพี / ผลไม้ 4 ส่วน - 2,400 แคลอรี่ : ผัก 6 ทัพพี / ผลไม้ 5 ส่วน เคล็ดลับทานผัก-ผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน - ทานกล้วยหรือแอปเปิ้ลเป็นอาหารเช้า โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผสมลงในซีเรียลหรือสมูทตี้ - ทานผลไม้เป็นอาหารว่างในช่วงเช้า - ทานสลัดหรือซุปผัก - ทานแครอทดิบ แตงกวา เป็นของว่าง - เสริมผักและผลไม้ประมาณครึ่งจานในการทานระหว่างมื้อ - เพิ่มผลไม้แห้งในปริมาณเล็กน้อย เช่น ลูกเกด แอปริคอต ในมื้ออาหาร น้ำผลไม้ดีต่อสุขภาพหรือไม่? น้ำผลไม้สดมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ไม่แนะนำสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหงาน เนื่องจากในน้ำผลไม้จะมีน้ำตาลปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปกติการรับประทานไม้สดดีต่อสุขภาพมากกว่าการดื่มน้ำไม้หรือน้ำผลไม้ปั่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี และวิตามิน นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อกระดูกด้วย นมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย และนมที่มีไขมัน 1% จะมีไขมันน้อยกว่านมปกติ แต่ยังคงให้โปรตีน วิตามิน และแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีนมถั่วเหลืองเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวหรือมีข้อจำกัดด้านอาหาร ปริมาณนมและผลิตภัณฑ์จากนมที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่ - 1,600 แคลอรี่ (เด็ก) : 2 ส่วน / แก้ว - 1,600 แคลอรี่ (ผู้ใหญ่) : 1 ส่วน / แก้ว - 2,000 แคลอรี่ : 1 ส่วน / แก้ว - 2,400 แคลอรี่ : 1 ส่วน / แก้ว ไขมัน ไขมันในอาหารเป็นสิ่งจำเป็น แต่ส่วนใหญ่มักได้รับมากเกินไป น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ สเปรดไขมันต่ำเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใช้แทนเนย ชนิดของไขมัน คอเลสเตอรอล อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ เช่น นม เนย ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่ได้จากการรับประทานอาหาร แบ่งเป็น - ไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ ไขมันจากนม เนย ชีส และพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม - ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา ประโยชน์ของไขมัน 1. ให้พลังงานแก่ร่างกาย 2. ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี เค 3. ช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด โทษของไขมัน 1. หากได้รับมากเกินไปจะทำให้น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนได้ 2. เป็นสาเหตุให้เกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ปริมาณไขมันที่ควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่? ปริมาณไขมันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการแคลอรี่ รวมถึงลักษณะการกินด้วย - 1,600 แคลอรี่ : ไขมัน 25 กรัม (5 ช้อนชา) - 2,000 แคลอรี่ : ไขมัน 35 กรัม (7 ช้อนชา) - 2,400 แคลอรี่ : ไขมัน 45 กรัม (9 ช้อนชา)

ไข้หวัดใหญ่...อันตรายกว่าที่คิด

อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้มีอาการป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่าย และมักเกิดขึ้นบ่อยๆ โรคไข้หวัดใหญ่ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ระบาดในเด็กเป็นจํานวนมากโดยเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจําแนก ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B และ C โดยแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกหลายชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วน สายพันธุ์ชนิด C มักไม่รุนแรง และพบประปราย รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิดมากพอที่จะทำให้สามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง 2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิมมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีกล้ามเนื้ออักเสบ และอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่ นํ้ามูก ไอมาก หรือ หากรุนเเรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ เสียชีวิต และอาจมีอาการที่ระบบอื่นอย่าง ระบบประสาท เช่น ไข้สูงเเล้วชัก ซึม หรือ ไข้สมองอักเสบได้ โดยทั่วไปหากเด็กปกติที่มีสุขภาพดีติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มักจะหายได้เองใน 7 วัน เเต่มีบางรายเกิดการติดเชื้อเเล้ว แสดงอาการรุนเเรงตามที่ กล่าวมา ส่วนเด็กที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคหืด โรคหัวใจ เด็กที่ต้องกินยา Aspirin หรือในเด็กเล็กกว่า 2 ปี มีความเสี่ยงใน การเกิดการติดเชื้อที รุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า ไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงได้โดยการให้เด็กได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปัจจุบัน วัคซีนจะบรรจุไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ โดยเป็น A และ B อย่างละจํานวน 2 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค และการลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป โดยในเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปีที่รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ครั้งเเรก จะต้องได้รับ 2 ครั้ง ในปีแรกนั้น โดยห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้น ควรได้รับการฉีดวัคซีน ทุกๆ ปี ปี ละ 1 ครั้ง การป้องกัน อื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ล้างมือ ใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที แออัดหรือคลุกคลีคนป่วย เมื่อมีการไอ จาม ควรปิดปาก ปิ ดจมูก และควรแยกเด็กทีเป็นไข้หวัดออกจากเด็กคนอื่นๆ เพือป้องกันการติด ไข้หวัดระหว่างกัน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1.หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย 2.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 3.ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย 4.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง 5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6.ดื่มน้ำสะอาด 7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 8.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น 9.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพิ่มเติมจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิกหรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ช่วงฤดูไข้หวัด ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล คนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

3 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการรักษา โรคหวัด

โรคหวัด โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส และมักจะเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงหน้าฝน หรือในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งวิธีการรักษาโดย่สวนใหญ่มักรักษาตามอาการที่แสดงแตกต่างกันไปแต่ละคน อาการของ โรคหวัด โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคหวัด มักมีอาการที่พบได้บ่อย เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และเจ็บคอ อาจมีไข้ หรือมีอาการไอร่วมด้วย แต่โดยทั่วไป มักสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ จากภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละบุคคล เฉลี่ยภายใน 7-10 วัน 3 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการรักษา โรคหวัด 1. วางก้อนน้ำแข็งบนท้ายทอย ช่วยให้หายจากโรคหวัด? จริง ๆ แล้ว น้ำแข็งมีประโยชน์ในด้านการช่วยบรรเทาอาการบางอย่าง เช่น บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ จากคอเคล็ด การนอนตกหมอน หรือช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวดในระยะช่วงเริ่มต้น แต่ น้ำแข็ง ไม่ได้มีสรรพคุณในการช่วยรักษาหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำน้ำแข็งวางบนท้ายทอยเพื่อรักษาอาการหวัด 2. การนำสำลีชุบแอลกอฮออล์วางบนสะดือ เพื่อรักษาโรคหวัด หนึ่งในความเชื่อและข่าวแชร์ผิด ๆ ที่ว่า หากนำสำลีมาแช่ หรือชุบแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 50% เป็นต้นไป แล้วนะไปวางบนสะดือ จะช่วยรักษาโรคหวัด อาการไข้สูง ตัวร้อน อาการไอ อาการปวดท้อง หรือแม้กระทั่งช่วยเรื่องอาการปวดท้องประจำเดือนได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด และไม่ได้ช่วยในด้านการรักษาโรคหวัดแม้แต่น้อย 3. ทานเบกกิ้งโซดา ช่วยให้หายจากไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ ความเชื่อเรื่องการทานเบกกิ้งโซดาที่นำไปละลายน้ำ จะช่วยรักษาไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต คือส่วนผสมในการทำเบเกอรี่เท่านั้น ไม่มีผลต่อการรักษาโรคใด ๆ ทั้งสิ้น การรักษาโรคหวัดเบื้องต้นที่ถูกวิธี✔ ดื่มน้ำมาก ๆ ในปริมาณที่เพียงพอแต่ละบุคคล พักผ่อน นอนหลับให้เพียงต่อ ใช้ยาสามัญประจำบ้านในการบรรเทาอาการเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้ไอ

ประจำเดือนผิดปกติ สิ่งที่ต้องมาประจำเดือน ทำไมไม่มาประจำ?

ประจำเดือนผิดปกติ นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกัน 8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต 1.รอบเดือนมาผิดปกติ 2.ระบบขับถ่ายผิดปกติ 3.ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการปวดหลัง หรือปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์ 4.ประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไปอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ 5.ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง 6.ลิ่มเลือดประจำเดือนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก 7.มีหยดเลือดออกมาในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน 8.ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ

ลงทะเบียนโควิด

สำหรับผู้ประกันตน โรงพยาบาลมหาชัย 3 ตรวจ ATK เป็นผลบวก รักษาแบบผู้ป่วยนอก ลงทะเบียนล่วงหน้าและรับยาตอนเย็น สำหรับผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการสีเขียว (ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ) สามารถลงทะเบียนรักษาล่วงหน้า ตั้งแต่เวลา 00.00-12.00 น. และรับยาได้ตั้งแต่เวลา 15.00-18.00 น ด้วยความห่วงใยจากโรงพยาบาลมหาชัย 3

วัคซันป้องกันไข้หวัดใหญ่

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 400 บาท และ 7 กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีด

ตรวจสุขภาพประจำปี รู้ทันโรคร้ายที่อาจมาเยือนไม่รู้ตัว

การตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญอย่างไร? จุดประสงค์หลักของการตรวจสุขภาพประจำปี คือ ตรวจคัดกรองเบื้องต้นตามปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล โดยตรวจหาโรคแฝงที่เราเสี่ยงที่จะเป็น อาจด้วยพันธุกรรม หรือโรคที่พบบ่อย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งในระยะแรกอย่าง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เป็นต้น การตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงอายุ 1. ผู้ที่มีอายุ 30 – 50 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่มักมีภาระความรับผิดชอบในการทำงานที่สูงกว่าวัยอื่น มีเวลาดูแลตัวเองน้อยและมีความเครียดอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยการตรวจเบื้องต้นที่แนะนำ คือ การตรวจร่างกายทั่วไป และหากมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง หรืออื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบตอนซักประวัติ เพื่อรับข้อแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสุขภาพ ตรวจการได้ยิน และตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะซึมเศร้า หากดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือมีประวัติใช้สารเสพติด ควรเข้ารับการตรวจประเมินสภาวะสุขภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษด้วย ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ดังนั้น นอกจากการตรวจข้างต้นแล้วแนะนำให้ตรวจรายการเพิ่มเติมคือ – ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง หรือตามที่สูตินรีแพทย์แนะนำ – อายุ 30 – 40 ปี หากประสงค์ตรวจเต้านม แนะนำตรวจคัดกรองด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ – อายุตั้งแต่ 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อมูลเพิ่มเติม มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ผู้ที่อายุระหว่าง 40 – 50 ปี ควรตรวจวัดสายตาและสุขภาพดวงตาเพิ่มเติมด้วย – คัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง ความผิดปกติอื่น ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง 2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีเหมือนกับกลุ่มวัยทำงาน แต่จะมีการตรวจที่แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เนื่องจากอยู่ในวัยที่พบโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ ตรวจอุจจาระ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ตรวจปัสสาวะ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ การตรวจด้านภาวะทางโภชนาการ เช่น ระดับสารอาหารวิตามินต่าง ๆ ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ควรตรวจวัดระดับน้ำตาล ตรวจไขมันในเลือด และประเมินภาวะการทำงานของไต ด้วยการตรวจวัดระดับครีอะทีนิน (creatinine) เป็นประจำ ตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ และ ตรวจติดตามทุก 5-10 ปี ตามนัดหมายแพทย์ อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน อายุ 60 – 64 ปี ควรตรวจตาทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก 1 – 2 ปี และตรวจประเมินสมรรถภาพสมอง

โรงพยาบาลมหาชัย 3

เลขที่ 927/45 ถนนเศรษฐกิจ1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง สมุทรสาคร 74000

   034-429-111

              

โรงพยาบาลมหาชัย 3

เลขที่ 927/45 ถนนเศรษฐกิจ1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง สมุทรสาคร 74000

   034-429-111               

ฝากข้อความติดต่อกลับ

Copyrights © 2024 All Rights Reserved. MAHACHAI3.COM Version 1.2. Designed by WEB-BEE-DEV. +143,068 Times.